วันพฤหัสบดีที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2556

CMS , LMS and E – Portfolio


CMS

CMS ย่อมาจากคำว่า Content Management System

CMS คือ ระบบซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ที่ใช้เพื่อจัดระเบียบเนื้อหาเว็บไซต์

 หลักการทำงาน

ระบบจัดการแบ่งแยกการทำงานระหว่างเนื้อหา (Content) ออกจากการออกแบบ (Design) โดยการออกแบบเว็บเพจจะถูกจัดเก็บไว้ในแม่แบบ (Templates/ Themes)ในขณะที่เนื้อหาถูกจัดเก็บไว้ในฐานข้อมูลหรือไฟล์ เมื่อใดที่มีการเรียกใช้งานจะมีการทำงานร่วมกันระหว่าง 2 ส่วน เพื่อสร้างเว็บเพจขึ้นมา

ประเภท

แบ่งออกเป็น8ประเภท

                   เว็บบล็อก (Weblog) - เป็น CMS ใช้สำหรับการจดบันทึกหรือเขียนบันทึกเผยแพร่ส่วนบุคคล

                    อีคอมเมิร์ช (e-Commerce) - เป็น CMS ใช้สำหรับทำร้านค้า Online มีความสามารถใช้ในการซื้อขายสินค้า

                    อีเลิร์นนิ่ง (e-Learning) - เป็น CMS ใช้สำหรับการทำสื่อการเรียนการสอน หรือบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบนเว็บ

                   กระดานข่าว (Forums) - เป็น CMS ใช้สำหรับถามตอบปัญหาหรือสร้างเป็นชุมชนต่างๆโดยมีการแบ่งเป็นหัวข้อหรือหมวดหมู่ต่างๆ ตามความสนใจของผู้เข้าชม

                   กรุ๊ปแวร์ (Groupware) - เป็น CMS ใช้สำหรับการทำงานในองค์กรหรือหน่วยงานที่มีความสัมพันธ์ต่อเนื่องกัน มีความรวดเร็วในการทำงาน

                   อัลบั้มภาพ (Image Galleries) - เป็น CMS ใช้สำหรับจัดการอัลบั้มภาพ

                   พอร์ททัล (Portals) - เป็น CMS ใช้เป็นหน้าหลักของเว็บไซต์

                   วิกิ (Wiki) - เป็น CMS ที่อนุญาตให้ผู้ใช้เพิ่มเติมและแก้ไขเนื้อหาได้โดยง่าย เหมือนกับการเขียนบทความร่วมกัน

การประยุกต์ใช้งาน CMS ในด้านต่างๆ

                   นำมาใช้ในการสร้างเว็บไซต์แนะนำหน่วยงาน ใช้ในการนิเทศนักศึกษาฝึกงาน ใช้ประชาสัมพันธ์ข่าวสารต่างๆ ใช้เป็นระบบอินทราเน็ต เป็นต้น

                   นำมาใช้ในการสร้างเว็บไซต์ของธุรกิจ ใช้ในการแนะนำสินค้าหรือซื้อขายสินค้าผ่านทางอินเทอร์เน็ต เป็นต้น

                   หน่วยงานอื่นๆ นำมาใช้ในการสร้างเว็บไซต์หน่วยงานนั้นๆ ใช้ในการประชาสัมพันธ์กิจกรรมต่างๆ ของหน่วยงาน เป็นต้น

ข้อดีของ CMS

                   มีทั้งต่อผู้ดูแลเว็บไซต์(Webmasters) และผู้ใช้งานเว็บไซต์(Users)

                   ความสามารถในการใช้ Template และส่วนประกอบของการออกแบบ ที่ครอบคลุมการออกแบบตลอดทั้งไซต์

                   ผู้ใช้งานเว็บไซต์สามารถใช้งาน Template โดยนำมาประกอบกับเอกสารหรือเนื้อหา ทำให้ช่วยลดภาระเรื่องการเขียนโค้ดให้น้อยลง

                   ผู้ใช้งานเว็บไซต์ให้ความสนใจเฉพาะเนื้อหามากกว่าการออกแบบ และในการที่จะเปลี่ยนหน้าตาของเว็บไซต์ ผู้ดูแลเว็บไซต์ก็แค่ไปแก้ไขที่ template ไม่ใช่ที่แต่ละหน้าของเว็บเพจ

                   CMS จะช่วยให้ทุกอย่างง่ายขึ้น ในการสร้างและบำรุงรักษาเว็บไซต์

                   นอกจากนั้น ถ้ามี Search engine, Calendar, Web mail และส่วนอื่นๆ ที่สามารถเพิ่มเติมสู่ CMS หรือแม้กระทั่งไปหา Plug-in หรือ Addonsเข้ามาเสริมการทำงานได้

ข้อเสียของ CMS

                   ในกรณีที่ผู้ใช้ต้องการออกแบบทีม (หน้าตาของเว็บ) เอง จะต้องใช้ความรู้มากกว่าปรกติ เนื่องจาก CMS มีหลายๆระบบมารวมกันทำให้เกิดความยุ่งยาก สำหรับผู้ที่ไม่มีความรู้                                 

                   ผู้ใช้จะต้องศึกษาระบบ CMS ที่ผู้พัฒนาสร้างขึ้นมา เช่นจะต้องใส่ข้อความลงตรงไหน จะต้องแทรกภาพอย่างไร ซึ่งจะลำบากเพียงแค่ช่วงแรกเท่านั้น    

                   ในการใช้งานจริงนั้นจะมีความยุ่งยากในการ set up ครั้งแรกกับ web server แต่ปัจจุบันก็มีผู้บริการ web server มากมายที่เสนอลงและ set up ระบบ CMS ให้ฟรีๆโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

 

LMS

LMS เป็นคำที่ย่อมาจาก Learning Management System หรือระบบการจัดการเรียนรู้ เป็นซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่บริหารจัดการเรียนการสอนผ่านเว็บ

โปรแกรมที่ใช้สร้างระบบ LMS มีอยู่ 2 ลักษณะ

                   1.ซอฟต์แวร์ฟรี (Open Source LMS) ที่มีลิขสิทธิ์แบบ GPL เช่น

                • Moodle (www.moodle.org)

                   2. ซอฟต์แวร์ที่บริษัทเอกชนพัฒนาเพื่อขายโดยเฉพาะ (Commercial LMS) เช่น

                • Blackboard

องค์ประกอบของระบบบริหารการเรียนการสอน LMS

ประกอบด้วย 5 ส่วนดังนี้

                1. ระบบจัดการหลักสูตร (Course Management)

                2. ระบบการสร้างบทเรียน (Content Management)

3. ระบบการทดสอบและประเมินผล (Test and Evaluation System)   

                4. ระบบส่งเสริมการเรียน (Course Tools)  

                5. ระบบจัดการข้อมูล (Data Management System)

ผู้ใช้งานในระบบ LMS

แบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม คือ

                   กลุ่มผู้บริหารระบบ (Administrator)

  กลุ่มอาจารย์หรือผู้สร้างเนื้อหาการเรียน (Instructor / Teacher):

  กลุ่มผู้เรียน (student/Guest):

ข้อดีของLMS

                   เครื่องมือบนระบบบริหารจัดการการเรียนรู้ที่ใช้ในการประเมินมีอยู่มากกว่า 30 รายการด้วยกัน ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่เครื่องมือสำหรับการจัดระบบที่ไม่สลับซับซ้อน เช่น ปฏิทิน (calendar)ไปจนถึงเครื่องมือขั้นสูงที่

                   การพัฒนาระบบบริหารจัดการการเรียนรู้ในปัจจุบันไม่ได้จำกัดเฉพาะปริมาณของเครื่องมือ แต่ยังครอบคลุมในด้านของคุณภาพของเครื่องมือบางประเภทด้วย

                   ระบบบริหารจัดการเรียนรู้ส่วนใหญ่ในขณะนี้สามารถนำไปเชื่อมต่อกับระบบอื่นๆ

                    มีระบบบริหารจัดการการเรียนรู้ที่ เป็น OpenSource

ข้อจำกัดของLMS

                   เครื่องมือต่างๆ อันหลากหลายที่ได้รับการพัฒนามาแล้วนั้นยังไม่สามารถสนับสนุนการจัดการเรียนรู้เป็นไปตามหลักทางครุศาสตร์ (pedagogy-driven) ได้อย่างเต็มที่

                   ไม่ยืดหยุ่นพอสำหรับความต้องการในการออกแบบการเรียนของผู้สอนในสมัยใหม่

                   ระบบบริหารจัดการการเรียนรู้ส่วนใหญ่ยังไม่สนับสนุนการใช้ทรัพยากรการเรียนรู้ร่วมกัน

                   ระบบฯ ที่มีเครื่องมือที่พร้อมไปด้วยเครื่องมือที่หลากหลาย กลับไม่ได้รับความนิยมนักในหมู่ผู้ใช้

                   ระบบส่วนใหญ่ยังเป็นเชิงพาณิชย์  ระบบส่วนใหญ่ยังมีราคาแพง





E – Portfolio

E-Portfolio หรือ แฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์ หมายถึง การเก็บรวบรวมผลงานที่แสดงความสามารถและความก้าวหน้าในการทำงานอย่างเป็นระบบ

ลักษณะ E- Portfolio

-เป็นการนำเสนอเอกลักษณ์ ปรัชญา เป้าหมาย ทักษะ ความสามารถ ผลงานของเจ้าของ ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์

- ข้อมูลและเนื้อหาสาระมาจากแฟ้มผลงาน (hard copy portfolio)

-ใช้เทคนิคการนำเสนอแบบ web จัดเรียงลำดับที่เพิ่มความน่าสนใจ

- สามารถจัดเก็บไว้ในเว็บไซด์หรือ CD ก็ได้

ประเภท E- Portfolio

1. แฟ้มสะสมงานส่วนบุคคล (  Personal  Portfolio )   เป็นแฟ้มที่แสดงข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับเจ้าของแฟ้ม   เช่น  ความสามารถพิเศษ   กีฬา   งานอดิเรก  สัตว์เลี้ยง   การท่องเที่ยว   และการร่วมกิจกรรมต่างๆ เป็นต้น

2. แฟ้มสะสมงานเชิงวิชาชีพ  ( Professional   Portfolio) 
เป็นแฟ้มที่แสดงผลงานเกี่ยวกับอาชีพ  เช่น   แฟ้มสะสมงานเพื่อใช้ในการสมัครงาน  และแฟ้มสะสมงานเพื่อเสนอขอเลื่อนระดับ เป็นต้น

3. แฟ้มสะสมงานเชิงวิชาการ  (Academic Portfolio) หรือ แฟ้มสําหรับนักเรียน (Student  Portfolio)   เป็นแฟ้มที่แสดงผลเกี่ยวกับการเรียนเช่น แฟ้มสะสมงานเพื่อใช้ประเมินผลการเรียนรู้ แฟ้มสะสมงานเพื่อใช้ประกอบการประเมินผล

4. แฟ้มสะสมงานสําหรับโครงการ (Project  Portfolio)  เป็นแฟ้มที่แสดงถึงความพยายามหรือขั้นตอนการทํางานในโครงการหนึ่ง ๆ  หรือในการศึกษาส่วนบุคคล   ( Independent  Study ) เช่น   แฟ้มโครงงานวิทยาศาสตร์      ซึ่งในแฟ้มจะประกอบด้วยภาพของวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ และ แสดงขั้นตอนต่างๆ ในการดําเนินงานจนได้ผลผลิตที่ต้องการปลายภาค/ปลายปี

รูปแบบการทำงาน E- Portfolio

การสร้างแฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์ ต้องมีเครื่องมือที่จะช่วยในการจัดระบบข้อมูลให้สะดวกในการใช้งานรูปแบบต่างๆ ทั้งในการนำเสนอ การแก้ไข การเข้าถึง การเก็บผลงาน การเชื่อมโยงผลงาน ปัจจุบันมีโปรแกรมสำเร็จรูปที่สามารถนำมาพัฒนาได้ในเวลาอันสั้น ทั้งแบบที่ให้บริการที่ไม่เสียค่าใช้จ่าย ที่บุคคลทั่วไปสามารถใช้งานได้อย่างอิสระไม่มีการระบุตัวตนผู้ใช้ เช่น Mahara, Drupal, Google site, เป็นต้น และแบบที่หน่วยงานหรือองค์กรเป็นเจ้าของเครือข่าย ต้องมีการระบุตัวตนผู้ใช้เช่น Blackboard, สถาบันการศึกษาต่างๆ, องค์กร, หน่วยงาน เป็นต้น

การะประยุกต์ใช้กับการศึกษา

ด้านผู้เรียน E-Portfolio เป็นเครื่องมือในการประเมินตามสภาพจริง เพื่อประเมินความก้าวหน้าของนักเรียนเป็นรายบุคคล สามารถสะท้อนความรู้ความเข้าใจในการเรียนและระดับความสำเร็จของผู้เรียนจากผลงานที่ปรากฏ ช่วยส่งเสริมกิจกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียน โดยผู้เรียนจะไม่เป็นแต่เพียงผู้รับเท่านั้น แต่เป็นผู้ควบคุมการศึกษาเรียนรู้ด้วยตัวของผู้เรียนเอง สร้างแรงจูงใจให้กับผู้เรียน ให้ผู้เรียนมุ่งมั่นสร้างผลงานของตนเอง 

ด้านบุคลากรใช้เป็นเครื่องมือในการจัดเก็บข้อมูลของบุคลากรที่แสดงถึงประวัติและผลงานหรือความสำเร็จการปฏิบัติงานของเจ้าของไว้อย่างเป็นระบบ สะดวกต่อการใช้งาน และเป็นสื่อที่แสดงข้อมูลป้อนกลับกับต่อผู้สอนและผู้บริหารเพื่อพัฒนาการจัดศึกษาต่อไป

ข้อดี E- Portfolio

1. นําเสนอผลงานซึ่งสามารถจัดแสดงผลงานได้อย่างตรงจุดในสิ่งต้องการนําเสนอ เช่น ข้อมูล ประวัติ หรือเนื้อหาต่างๆ ที่จะชี้ให้เห็นศักยภาพของเจ้าของแฟ้มสะสมงาน

2. เข้าถึงผลงานโดยสะดวกเนื่องจากเป็นการนําเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดระบบผลงานทําให้ประหยัดเนื้อที่ที่เก็บผลงาน ประหยัดเวลาในการสืบค้น และนําเสนอได้อย่างสะดวก สามารถเข้าถึงกันได้ทั่วโลกผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต

3.เก็บสะสมผลงานได้หลายรูปแบบ ทั้งรูปภาพ เสียง วิดีโอ ข้อความ สื่อมัลติมีเดียต่างๆ

4.แก้ไขและปรับปรุงแฟ้มสะสมผลงานได้อย่างสะดวก สามารถปรับปรุงได้ทันที ซึ่งขึ้นอยู่กับความสามารถของเจ้าของแฟ้มสะสมผลงานในการพัฒนาแฟ้มของตน

5.เชื่อมโยงข้อมูลผลงานโดยสามารถอ้างอิงผลงานร่วมกันได้ เมื่อต้องการสําเนาผลงานไปยังหัวข้ออื่นๆ แฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์สามารถเชื่อมโยงเพื่อนําไปอ้างอิงได้สะดวก ด้วยการใช้ไฮเปอร์ลิงค์หรือเครื่องมือต่างๆของแฟ้มสะสมงานประวัติส่วนตัวประวัติการศึกษาประวัติการทำงานผลงานต่างๆ

 


                             

สมาชิก   53/24
นางสาวดุษฎี           อาจคงหาญ       534116114
นางสาวลดาวรรณ   สระทองหมาย    534116125
นางสาวสิเรียม        ฟักช้าง               534116131
นางสาวกาญจนา    อยู่เอี่ยม             534116158


 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น